คำสอนคริสตชนพันปีที่สาม

หน้าแรก > ศูนย์สื่อมวลชนคณะพระมหาไถ่ > คำสอนคริสตชนพันปีที่สาม

บทที่ 1 คริสตชนจะต้องดําเนินชีวิตอย่างไร?

1. ปฏิบัติธรรมบัญญัติทุกวัน

มีชายหนุ่มคนหนึ่งมาถามพระเยซูว่าจะทํา  อย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ พระองค์ ตอบว่า อย่าฆ่าคน อย่าผิดประเวณี อย่าลักขโมย อย่าโกหก (ใส่ความ นินทา) จงเคารพบิดามารดาของตนและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง...(มธ.19:16-26)

อธิบาย ข้อห้ามจะสมบูรณ์ต้องมีข้อปฏิบัติ คือ


บัญญัตินี้สรุปเป็น "ให้รักผู้อื่นเหมือนตนเอง" หมายถึงรักตนเองก่อน แล้วจึงรักผู้อื่นให้เท่า ๆ กับรักตนเอง


การรักตนเอง หมายถึง การดําเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าและมีความสุข ตามที่พระเยซูสอนไว้


 นี่เป็นพื้นฐานที่จะช่วยเราให้แสดงความรักต่อผู้อื่น

 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อคนยากจนคนโหยหิว และคนที่ทุกข์ระทม (เทียบ มธ. 5:7-12)


2. ไปวัดในวันพระเจ้า (วันอาทิตย์)

เพื่อร่วมใจกับพีน้องคริสตชน ถวายบูชามิสซาระลึกถึงพระเยซูและรับการไถ่บาปจากพระองค์

ในมิสซามีการภาวนาและสรรเสริญพระเจ้า

3. สวดภาวนาทุกวัน (ดูบทที่ 7)

ควรภาวนาเมื่อไร ?

4. เรียนคําสอนเพิ่มเติม

ควรอ่านพระคัมภีร์ทุกวัน


คำถามท้ายบท

จะเป็นคริสตังต้องทําอย่างไร ?

ต้องถือบัญญัติ ต้องไปวัดวันพระเจ้า ภาวนาทุกวัน และเรียนคําสอน

บทที่ 2 พระเยชูสั่งอะไร ?

พระเยซูสั่งว่า 

"จงรักกันไว้ ฉันรักพวกท่านอย่างไร พวกท่านก็จงรักกันอย่างนั้น...แล้วทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา" (ยน.13: 33-35)

อีกแง่หนึ่งคือ

“จงทําตัวเป็นหนึ่งเดียวกันกับมนุษยชาติ”

ด้วยการเชิญชวน และเป็นกันเอง โดยการร่วมสังสรรค์กับเขา

ด้วยการรักศัตรู ทําดีต่อผู้ที่เกลียดชังท่าน อวยพรให้ผู้ที่แช่งด่าท่าน ภาวนาให้คนที่เคี่ยวเข็ญท่าน...ถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน แม้คนชั่วช้าก็ยังทําเช่นนั้น

คุณลักษณะและแรงบันดาลใจของพระเยซูเจ้า

พระเยซูเจ้าเป็นคนมี ความรัก ความเมตตาและความสงสาร ต่อคนด้อยโอกาสในสังคม และยังได้รับแรงบันดาลใจจากพระจิตให้ไป

และนี่ควรเป็นคุณสมบัติและภารกิจของคริสตชนด้วย


คำถามท้ายบท

พระเยซูเจ้าสั่งให้ปฏิบัติต่อกันอย่างไร?

จงรักกันเหมือนเรารักท่าน แล้วโลกจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา

บทที่3 พระเยซูสอนอะไร?

พระเยซูสอนว่า

ให้ภาวนาขอต่อพระเจ้า และเรียกพระองค์เป็นบิดา ดังนี้

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย

พระองค์สถิตในสวรรค์ 

พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ

พระอาณาจักรจงมาถึง

พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์

โปรดประทานอาหารประจำวัน  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้

โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้า  เหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น

โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ

แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ อาแมน (มธ.6:7-13)

เราภาวนาขอสิ่งใดจากพระเจ้า ?

พระเจ้าเป็นต้นกําเนิดชีวิตของมนุษยชาติพระองค์จึงเป็นบิดาของเราตามที่พระคัมภีร์ได้บรรยายและสรุปได้ดังนี้

พระเจ้าสร้างโลก 6 วาระดังนี้

พระเจ้าสร้างมนุษย์สุดท้ายตามรูปแบบของพระองค์ แล้วมอบโลกให้เป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคนเพื่อการดําเนินชีวิตร่วมกัน ดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงมีสิทธิ์ในโลกนี้ นี่คือ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

 

 




2.  ขอให้อาณาจักรพระเจ้าจงมาถึง

เราจะรู้ได้ว่า มารกําลังครอบงําโลกเพราะความชั่วเป็นใหญ่ เห็นได้ชัดจากที่คนจน และผู้ถูกกดขี่ต้องทนทุกข์ และอยู่ใต้อํานาจจิตชั่ว เห็นได้จากความหน้าซื่อใจคด ความใจดําของชนชั้นนําในสมัยนั้น และพระเยซูได้เรียกคนยุคนั้นว่า "ยุคชั่วช้าอธรรม"

ส่วนอาณาจักรพระเจ้านั้น มีความดีโอบอุ้ม พระเยซูประกาศว่า วันนั้นมาถึงคนจนจะได้มีส่วนในอาณาจักรพระเจ้า  ผู้ที่โหยหิวจะได้อิ่มหนำและผู้ที่กําลังร้องไห้จะได้หัวเราะอย่างเบิกบาน    (เทียบ ลก.6:20-21)

ดังนั้น เรากําลังอ้อนวอนพระเจ้าว่า ที่ใดมีเงาของอาณาจักรมาร ก็ขอให้อาณาจักรพระเจ้าเข้าครอบครองแทน และเราเองต้องเป็นเครื่องมือของพระเจ้าในภารกิจนี้

3.  ขอให้มีอาหารรับประทานทุก ๆ วัน

เราขออาหารประจําวันสําหรับทุกๆ  คน ไม่ใช่ทุกคนจะโชคดีเหมือนกันหมด  เมื่อเรามี เราจึงควรแบ่งปันให้กับคนขัดสนตามความสามารถ ให้มีกิน มีอยู่อาศัยได้รับการศึกษา ฯลฯ (เทียบ ลก.3:10-12)

4. ขอพระเจ้าอภัยในความผิดของเรา

ให้เราเป็นคนใจกว้างพร้อมที่จะอภัยให้ตนเอง อย่างไม่มีเงื่อนไข อภัยให้คนอื่น อย่างไม่มีเงื่อนไข สาวกเปโตรถามพระเยซูว่า "เราต้องยกโทษ ให้พี่น้องที่ทําผิดต่อเราสักกี่ครั้ง ? สักเจ็ดครั้งพอไหม ? พระเยซูตรัสตอบว่า "ไม่พอ ไม่ใช่เจ็ดครั้งเท่านั้น แต่เจ็ดสิบครั้งคูณด้วยเจ็ด" (มธ.18:21 -22)

5. ขออย่าปล่อยข้าพเจ้าถูกผจญ    

พระเยซูสอนว่า “จงระวังให้ดีและภาวนาเพื่อว่าพวกท่านจะได้ไม่ต้องถูกล่อลวงให้ทําบาป จิตใจพร้อมแล้วก็จริงแต่ร่างกายยังอ่อนแออยู่" (มก. 14:38)

การประจญที่พบบ่อย ๆ แม้แต่พระเยซูก็พบนั้นคือ การหลงใหลในอํานาจ ชื่อเสีย และเงินทอง แต่พระองค์ก็ชนะการประจญทุกครั้ง (เทียบ มธ. 4:1-11)

คําถามท้ายบท

คำสอนของพระเยซูในบท “ข้าแต่พระบิดาฯ” ได้สอนอะไรเราบ้าง?

อาณาจักรพระเจ้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อเรายอมรับว่าทุกคนเป็นพี่น้องกัน...เมื่อมีอาหารกิน...เมื่ออภัยแก่กันและกัน..เมื่อเราชนะการประจญเหมือนพระเยซู

บทที่ 4 คริสตชนกลุ่มแรกได้ตอบสนองคำสอนของพระเยซูเจ้าอย่างไร ?

ในสมัยแรก พวกคริสตชนยิ่งวันก็สนิทสนม กันมากขึ้นต่างแบ่งปันข้าวของให้กันตามความจำเป็นทุกวันจะไปนมัสการพระเจ้ารวมกัน ในพระวิหาร ไปหักขนมปัง และรับประทาน อาหารด้วยกันตามบ้านด้วย ความยินดีและ ถ่อมใจแล้วสรรเสริญพระเจ้า คนทั้งปวงเคารพ พวกเขานับวันจำนวนคนที่พระเจ้าช่วยให้รอดพ้น จากบาปก็เพิ่มขึ้นทุกที (กจ. 2:43-47;4:32-35)

คําถามท้ายบท

อะไรทำให้พวกเขาสนิทสนมกันมากขึ้น?

อะไรทำให้คนมาเข้าศาสนามากขึ้น?

แบ่งปัน ภาวนา หักปัง (มิสซา) ทาน อาหารร่วมกันด้วยความยินดีและ ถ่อมใจ

บทที่ 5 มารีย์ มารดาของพระเยซู

มารีย์เป็นมารดาของพระเยซูตามคำเชื้อเชิญ ของพระเจ้าดังนี้

มารีย์มารดาของพระเยซูหมั้นอยู่กับ ยอแซฟ แต่ก่อนที่ท่านทั้งสองจะแต่งงานอยู่กิน ด้วยกัน มารีย์ก็ทราบว่าพระจิตของพระเจ้า บันดาลให้เธอตั้งครรภ์...เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นสมจริงตาม พระดำรัสพระเจ้าที่ตรัสผ่านทางประกาศกว่า

"หญิงพรหมจารีจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตร ชาย ใคร ๆ จะเรียกท่านว่าอิมมานูแอล แปลว่าพระเจ้าสถิตอยู่กับเรา” (มธ. 1:18-23)

เราเรียกพระนางมารีย์สั้น ๆ ว่า "แม่พระ เพราะพระนางเป็นแม่ของพระเยซูเจ้า และ พระเยซูเจ้าได้มอบแม่พระให้เป็นแม่ของเรา ณ เชิงกางเขนที่พระองค์ถูกตรึงอยู่ว่า

“แม่ ลูกของแม่อยู่ที่นั่น”

แล้วตรัสกับสาวกว่า

"แม่ของท่านอยู่ที่นั่น" (ยน.19:26-27)

บทบาทของแม่พระ

บทที่ 6 ศีลศักดิ์สิทธิ์

ศีลศักดิ์สิทธิ์ คืออะไร ?

เป็นเครื่องหมายภายนอก ซึ่งชี้หรือนำมนุษย์ ให้ได้สัมผัสกับความรักของพระเจ้าในชีวิต ประจำวัน และพระศาสนจักรได้แสดงออกในรูป แบบของพิธีกรรมซึ่งนำพระหรรษทานมาสู่ผู้รับศีล

ศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacraments) ในความหมาย ที่กว้างออกไปอีก เราคริสตชนก็สามารถเป็น เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ได้ ถ้าเราเป็นสื่อให้พี่น้อง ของเราได้ใกล้ชิดกับพระ หรือได้สัมผัสกับความ รักของพระองค์ในชีวิตประจำวัน

ศีลศักดิ์สิทธิ์ มีกี่ศีลในพระศาสนจักร ? 

ในพระศาสนจักรมีศีลศักดิ์สิทธิ์อยู่ 7 ศีลแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

ก. การเข้าศาสนา

1. ศีลล้างบาป

เป็นศีลแรกที่ทุกคนต้องรับเพื่อที่จะเป็น สมาชิกของพระศาสนจักร ตามที่พระเยซูเจ้าได้ อธิบายให้นิโคเดมุสฟังว่า ผู้ที่จะเป็นประชากรของอาณาจักรพระเจ้า จะต้องเกิดใหม่จากน้ำและพระจิต (ยน.3:1-8)

คนที่จะรับศีลนี้ต้องแน่ใจว่า จะละทิ้งหนทาง ที่ไร้ความรักความเมตตาต่อมนุษยชาติ และหันมารับเอาหนทางของพระเยซูคริสต์ ตามที่ยอห์นได้ประกาศเป็นแนวทางว่า จงกลับใจเสียใหม่...ใครมีเสื้อสองตัว จงเอา ตัวหนึ่งให้คนที่ไม่มี และคนมีอาหาร จงแบ่งให้คนอดอยาก...ส่วนคนเก็บภาษีอย่า เก็บเกินพิกัด และพวกทหารอย่าบังคับ ขู่เข็ญเอาเงินจากผู้ใดหรือใส่ร้ายเขา จงพอใจกับค่าจ้างที่ตนได้รับ... (ลก.3.7-17)

ศีลล้างบาปนี้ยังทำให้เขาเป็นสาวกของพระ เยซู มีส่วนร่วมในบุญบารมีและศักดิ์ศรีของ พระองค์คือการเป็น สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ (ผู้นำ) ในชีวิตประจำวันของเขา (ดูพิธีล้างบาปเด็ก)


คําถาม

ศีลล้างบาปทำให้เราเป็นอะไรกับพระเจ้า และพระศาสนจักร ?

เป็นลูกของพระและสมาชิกของพระศาสนจักร

ทำให้เรามีส่วนร่วมในศักดิ์ศรีของพระเยซูเจ้าในฐานะ สงฆ์ ประกาศก และผู้นำ

2. ศีลกำลัง

เป็นศีลที่พระศาสนจักรอัญเชิญพระจิตเจ้า เสด็จลงมาเหนือผู้รับ และประทานพระพรพิเศษ ให้ผู้รับ และประทานพระพรพิเศษให้ผู้รับ ได้มีพลังและปรีชาญาณในการทำหน้าที่ของ คริสตชน ในฐานะที่มีภารกิจร่วมกับพระเยซู คริสต์ผู้ทรงเป็น สงฆ์ ประกาศก และกษัตริย์ เหมือนสมัยอัครสาวก

ห้าสิบวันหลังจากงานฉลองวันชาติ พวกสานุศิษย์มาชุมนุมในที่แห่งเดียวกัน ทันใดนั้นมีเสียงลมพัดจัด พัดกระโชกเข้า มาในบ้านที่กำลังชุมนุมกันอยู่ เขาเห็นเปลวไฟรูปร่างเหมือนลิ้นกระจายออกไป ถูกทุกคน ต่างคนต่างได้รับพระจิต จึงเริ่ม พูดภาษาอื่นตามที่พระจิตทรงบันดาลให้ เขาพูด (กจ.2:1-4)

ในสมัยก่อน ผู้ใดจะเป็นสงฆ์ ประกาศก หรือกษัตริย์จะต้องได้รับการเพิ่มก่อน และในศีล บวชเป็นพระสงฆ์ในปัจจุบัน พระสังฆราชเพิ่ม ผู้สมัครบวชด้วยน้ำมันคริสมา ซึ่งเป็นน้ำมันที่ใช้ เพิ่มผู้รับศีลกำลังด้วยเช่นกัน

คำถาม

ศีลกำลังมีผลต่อชีวิตคริสตชนอย่างไร ?

พระจิตประทานพรพิเศษปรีชาญาณให้แก่เรา ในการทําหน้าที่คริสตชนอย่างสมบูรณ์

3. ศีลมหาสนิท

เป็นศีลที่พระเยซูตั้งขึ้นระหว่างทานเลี้ยงมื้อ สุดท้ายกับสาวก พระองค์ตรัสว่า "เราปรารถนาเป็นอย่างมาก จะเลี้ยงฉลอง กับพวกท่านก่อนที่เราจะถูกทรมาน...แล้ว พระองค์หยิบขนมปังขึ้นมาขอบคุณ พระองค์ ทรงหักออกแล้วส่งให้บรรดาสาวกพลางตรัสว่า "นี่เป็นกายของเรา ซึ่งได้อุทิศให้พวกท่าน จงทำ อย่างนี้เป็นที่ระลึกถึงเรา (ลก.22:14-19)

พระองค์ทรงหยิบถ้วยขึ้นมากล่าวขอบพระคุณ พระเจ้า แล้วส่งให้พวกเขา ตรัสว่า "พวกท่านทุก คนดื่มเถิด นี่เป็นโลหิตของเราซึ่งประทับตรา พันธสัญญาของพระเจ้า โลหิตของเราต้องไหล ออกเพื่อคนเป็นอันมากจะได้รับการอภัยบาป (มธ.26:26-29)

พระเยซูยังตรัสอีกว่า "เราเป็นอาหารแท้ที่มาจากสวรรค์...คนที่กิน อาหารนี้จะมีชีวิตนิรันดร” (ยน.6.58) ดังนั้นศีลมหาสนิทจึงเป็นศีลแห่งการยกบาป และให้ชีวิตนิรันดรแก่ผู้รับด้วย

คำถาม

ศีลมหาสนิทเป็นอะไร?

ศีลมหาสนิทมีไว้เพื่ออะไร?

ศีลมหาสนิทเป็นพระกายพระเยซูเจ้า

เพื่อคนเป็นอันมากจะได้รับการยกบาป และรับชีวิตนิรันดร

ข. การรักษา 

4. ศีลอภัยบาป

เป็นศีลที่อภัยบาปของเรา ไม่ว่าจะหนักหนา แค่ไหนเพื่อจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ชีวิตที่เราสัญญา ไว้ในตอนรับศีลล้างบาป

พระศาสนจักรได้รับอำนาจยกบาปจาก พระเยซูเจ้า เมื่อพระองค์ตรัสกับนักบุญ เปโตรว่า "เปโตร ท่านคือศิลา บนศิลานี้เรา จะสร้างศาสนจักรของเราไว้ แม้แต่ความ ตายก็ไม่อาจจะเอาชนะศาสนจักรของเราได้ เราจะมอบกุญแจเข้าอาณาจักรของพระเจ้า

ให้ท่านไว้ สิ่งใดที่ท่านห้ามในโลกนี้ก็จะถูก ห้ามในสวรรค์ และสิ่งใดที่ท่านอนุญาตใน โลกนี้ก็จะได้รับอนุญาตบนสวรรค์ด้วย (มธ.16:16-20, ยน.20:19-23)

คำถาม

ใครมีอำนาจยกบาปได้? 

ทำไมต้องสารภาพบาปกับพระสงฆ์?

พระศาสนจักรมีอำนาจยกบาป

พระสงฆ์เป็นผู้แทนของพระศาสนจักร

5. ศีลเจิมคนไข้

ความเจ็บป่วยหรือเวลาใกล้จะตาย เป็นเวลาพบพระหรือบิดาของเรา

ศีลเจิมคนไข้เป็นศีลที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับ สุขภาพดีคืนมา หรือรับการยกบาป ตามที่ นักบุญยากอบเขียนไว้ว่า มีใครในพวกท่านป่วยหรือ ? 

เขาควรเชิญ ผู้อาวุโสในศาสนจักรมาอธิษฐานเพื่อเขา แล้วให้ผู้อาวุโสนั้นชโลมน้ำมันให้ในนามพระเจ้า คำอธิษฐานที่กล่าวมาด้วยความ เชื่อจะช่วยคนป่วยได้ พระเจ้าจะให้เขา มีสุขภาพดีดังเดิมและจะทรงอภัยบาป ที่ได้กระทำไปแล้ว ฉะนั้นจงสารภาพบาป ต่อกันและอธิษฐานให้กัน เพื่อท่านจะได้ หายโรคคำอธิษฐานของคนที่มีพลังยิ่งนัก (ยก. 5:14-17 ; มก.6:13)

คำถาม

ศีลเจิมคนไข้มีผลต่อผู้ป่วยอย่างไร?

เมื่อไรจึงเชิญพระสงฆ์มาโปรดศีลนี้?

ช่วยยกบาปผู้ป่วย…ให้ผู้ป่วยหายเร็ว ขึ้นหรือได้รับความสงบทางจิตใจเมื่อ จำต้องตาย

เมื่อเราป่วยหนัก ป่วยมานาน หรือผ่าตัด ใหญ่ เชิญพระสงฆ์มาโปรดศีลนี้ให้

ค. การรับใช้ผู้อื่น

6. ศีลสมรส

เป็นศีลที่คู่บ่าวสาวได้แสดงความรักและ สมัครใจ ต่อหน้าพระศาสนจักรว่า จะรัก ยกย่อง ให้เกียรติแก่กันและกัน และใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามี ภรรยาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ โดยไม่ถูกบังคับหรือ มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น

พระเยซูเจ้าตรัสสอนเกี่ยวกับการสมรสว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ เป็นชายและหญิง เพราะเหตุนี้ชายจะละ บิดามารดาของเขาไปผูกพันอยู่กับภรรยาและทั้งสองจะเป็นดุจคน ๆ เดียวกัน ดังนั้น ...มนุษย์ต้องไม่แยกสิ่งที่พระเจ้าทรงผูกพัน เข้าด้วยกน...ถ้าชายใดหย่าภรรยาของตน... แล้วชายนั้นไปแต่งงานใหม่ เขาก็ผิดประเวณี (มธ.19:1-9) 

ดังนั้น เมื่อรับศีลนี้แล้วจะหย่าแล้วแต่งงาน ใหม่ไม่ได้ จนกว่าฝ่ายหนึ่งจะตายจากไป

คำถาม

เงื่อนไขศีลสมรสมีอะไรบ้าง?

แต่งงานแล้วจะเลิกกัน แล้วแต่งงาน ใหม่ได้ไหม?

คู่สมรสจะต้องมาด้วยความอิสระ เต็มใจที่ จะใช้ชีวิตร่วมกันและการมีบุตรอย่างไม่มี เงื่อนไข

เมื่อเข้าสู่พิธีสมรสแล้วจะเลิกกัน แล้ว แต่งงานใหม่ไม่ได้

7. ศีลบวชเป็นพระสงฆ์

เป็นศีลที่พระศาสนาจักรเพิ่มให้ผู้ที่ได้รับ การอบรมมาดีแล้วเป็นพระสงฆ์ เพื่อรับใช้พระ ศาสนจักรตามที่พระเยซูเจ้าได้สั่งสอนไว้

"กษัตริย์ในโลกนี้ มีอำนาจเหนือประชากรของเขา....แต่พวกท่านต้องไม่เป็นเช่นนั้น ...ผู้นำต้องรับใช้ปวงชน...เหมือนอย่าง ที่เรามาอยู่ท่ามกลางพวกท่านดังผู้รับใช้ " (ลก.22:24-27; เทียบ ยน.13:13-14)

พระสงฆ์มีหน้าที่ปกครองสัตบุรุษในเขตวัดที่ได้รับ มอบหมายจากพระสังฆราช มีหน้าที่ให้การ อภิบาลสัตบุรุษโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านศีล ศักดิ์สิทธิ์ สอนคำสอนของพระศาสนจักร และ ถวายบูชามิสซา

คำถาม

ใครเป็นพระสงฆ์ได้?

พระสงฆ์มีหน้าที่อะไร?

คริสตชนชายได้รับการอบรมจากบ้านเณรอย่างดีแล้วและด้วยความเห็นชอบ จากพระสังฆราชท้องถิ่น

พระสงฆ์มีหน้าที่รับใช้คริสตชนในเขตวัด ที่พระสังฆราชมอบหมายให้

บทที่ 7 ภาวนา

การภาวนาคือการอยู่กับพระเจ้า การภาวนา จึงเป็นการสัมพันธ์กับพระเจ้าจากห้วงลึกของจิต

วิธีภาวนา

พนมมือ หลับตา สำรวมจิตใจ ระลึกถึงพระเจ้า (พระบิดา พระบุตร และพระจิต หรือแม่พระ นักบุญอื่น ๆ ) แล้วอธิษฐานสิ่งที่ ต้องการ

เนื้อหาในการภาวนา

มีการขอบคุณ ขอโทษ สรรเสริญ หรือวอนขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้า (อ่าน ลก. 11:1-13)

การภาวนามีสองแบบคือ 

แบบหนึ่งพูด กับพระเจ้าตามความรู้สึกของจิตใจ เช่น "ข้าแต่พระเจ้าเวลานี้ลูกรู้สึกสับสน โปรดชี้แนะ และนำทางในการตัดสินใจครั้งนี้..." เป็นต้น

อีกแบบหนึ่งคือ ภาวนาตามบทภาวนาที่ พระศาสนจักรแต่งขึ้น ซึ่งเราใช้ภาวนาพร้อมกันในที่ชุมชนของคริสตชน หรือส่วนตัวก็ได้ ต่อไปเป็นบทภาวนาที่ควรจำให้ขึ้นใจ

1. เครื่องหมายกางเขน

เดชะพระนาม พระบิดา และพระบุตร และพระจิต อาแมน

2. บทอัญเชิญพระจิตเจ้า

ก่อ: เชิญเสด็จมา ข้าแต่พระจิตเจ้า

รับ: เชิญเสด็จมาสถิตในดวงใจสัตบุรุษ และทรงบันดาลให้ลุกร้อนด้วยความรักของพระองค์

ก่อ: โปรดประทานพระจิตของพระองค์และสรรพสิ่งจะอุบัติขึ้นมา

รับ: แล้วพระองค์จะทรงเนรมิตแผ่นดินขึ้นใหม่

ข้าแต่พระเจ้าพระองค์ทรงสอนใจสัตบุรุษด้วยการส่องสว่างของพระจิต โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายซาบซึ้งในความเที่ยงธรรมโดยพระจิตนั้น และโปรดให้ได้รับความบรรเทาจากพระองค์ท่านเสมอ เดชะพระคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน

3. ข้าแต่พระบิดา

ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์

โปรดประทานอาหารประจำวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้ โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าเหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การผจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ อาแมน

4. วันทามารีย์

วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซูโอรสของท่าน ทรงได้รับพระพรยิ่งนัก

สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน

5. พระสิริรุ่งโรจน์

พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา และพระบุตร และพระจิต เหมือนในปฐมกาล บัดนี้และทุกเมื่อ ตลอดนิรันดร อาแมน

6. ข้าพเจ้าเชื่อ (สัญลักษณ์ของอัครสาวก)

ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ ทรงเนรมิตฟ้าดิน 

ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย ทรงปฏิสนธิเดชะพระจิตเจ้า ทรงบังเกิดจากพระนางมารีย์พรหมจารี ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัส ปิลาต ทรงถูกตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์และทรงถูกฝังไว้ เสด็จสู่แดนมรณะ วันที่สามทรงกลับคืนพระชนม์ชีพจากบรรดาผู้ตายเสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาของพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ แล้วจะเสด็จมาพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย

ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์ การอภัยบาป การกลับคืนชีพของร่างกาย และชีวิตนิรันดร อาแมน

7. เยซู มารีย์ โยเซฟ

เยซู มารีย์ โยเซฟ ข้าพเจ้าขอถวายดวงใจ สติปัญญาและชีวิตแด่ท่าน
    เยซู มารีย์ โยเซฟ โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าเมื่อใกล้จะตาย
    เยซู มารีย์ โยเซฟ โปรดทรงช่วยข้าพเจ้าให้สิ้นใจอย่างราบรื่นในศีลในพรของท่านด้วยเทอญ

8. ข้าแต่พระชนนีพระเจ้า

ข้าแต่พระชนนีพระเจ้า ลูกทั้งหลายหลบภัยมาพึ่งพระแม่ โปรดอย่าเมินเฉยต่อคำวอนขอในยามทุกข์ร้อนของลูก แต่โปรดช่วยลูก ให้พ้นภัยทั้งสิ้นเสมอเถิด พระมารดาพรหมจารีผู้ทรงได้รับพระพร

9. ก่อนอาหาร

ข้าแต่พระเจ้า โปรดประทานพรแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และแก่อาหารที่จะรับประทานนี้ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตรับใช้พระองค์และเพื่อนมนุษย์ อาแมน

10. หลังอาหาร

ขอขอบพระคุณ พระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ สำหรับของประทานนานาประการที่ได้รับจากพระองค์ ผู้ทรงจำเริญ และครองราชย์ตลอดนิรันดร อาแมน

11. การรับศีลอภัยบาป

หลังจากได้พิจารณาบาปที่ตนได้ทำแล้ว ให้สำนึกผิดและขอโทษพระเจ้า และตั้งใจว่าจะ แก้ไขความผิดต่าง ๆ รวมทั้งการชดเชยสิ่งที่ เสียหายจากความผิดนั้น จึงไปสารภาพบาปกับ พระสงฆ์ว่า

คุณพ่อที่เคารพ ลูกแก้บาปครั้งสุดท้าย มาได้ (บอกจำนวน วันอาทิตย์/เดือน/ปี) บาปของลูกมีดังนี้ (ให้บอกบาปและจำนวนครั้ง เสร็จแล้วพูดว่า) ลูกขอโทษพระเจ้าและขอ พ่อคูณยกบาปของลูกด้วย และฟังพระสงฆ์ ให้คำแนะนำ รับกิจการชดเชยบาป แล้ว พระสงฆ์สวดบทยกบาปให้)

12. บทแสดงความทุกข์

ข้าแต่พระเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทุกข์เสียใจที่ได้ทำบาป เพราะบาปเรียกร้องการลงโทษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บาปทำเคืองพระทัยพระองค์ ผู้ทรงความดี และทรงสมควรได้รับความรักจากมนุษย์ทั้งมวล เดชะพระหรรษทานช่วย ข้าพเจ้าตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปอีกเลย จะหลีกหนีโอกาสบาป และจะพยายามใช้โทษบาป โปรดทรงพระกรุณาอภัยบาปแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด อาแมน

13. บทภาวนาของนักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี 

ข้าแต่พระเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้าเป็น เครื่องมือของพระองค์เพื่อสร้างสันติ

14. ธรรมเนียมที่น่าสนใจ