ทุกคนมีพระกระแสเรียกในการดำเนินชีวิตของตนตามน้ำพระทัยและแผนการของพระเป็นเจ้า บางคนเชื่อว่า พระกระแสเรียกไปบวชมาจากพระเป็นเจ้าเท่านั้น นั่นคือพระทรงมีแผนการ เรียกและเลือกบุคคลใดบุคคล หนึ่งให้ไปบวชไปรับใช้พระองค์ในชีวิตพระสงฆ์หรือชีวิตนักบวช พูดง่าย ๆ คนนั้นเกิดมาเพื่อรับใช้พระองค์ ในชีวิตพระสงฆ์หรือนักบวช พูดอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นหนทางเดียวที่พระเลือกสรร คนพวกนี้เชื่อว่าพระกระแสเรียกไปบวชมาจากพระเป็นเจ้าอย่างเดียว ดังนั้น ถึงอย่างไรคนนี้ก็จะต้องบวช เพราะพระทรงมีแผนการไว้ให้อย่างนั้น นี่เป็นความคิดอย่างหนึ่งในการพิจารณาเรื่องพระกระแสเรียก มีคนอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า พระกระแสเรียกไปบวชเป็นหนทางสองลู่ทางนั่นคือ
- พระทรงเรียกและเลือกเขา
- บุคคลนั้นตอบสนองการเรียกนั้นด้วยความสมัครใจและเต็มใจ
เพื่ออธิบายให้เข้าใจ คนกลุ่มหลังนี้เชื่อว่า พระกระแสเรียกเป็นเสียงเรียกและความเหมาะสมที่พระทรง เรียกแต่ละคน ในขณะเดียวกัน คนที่ได้รับเรียกต่างตอบเสียงเรียกนั้นด้วยความสมัครใจ ด้วยอำเภอใจของ ตนเองเพื่อรับใช้พระองค์ในสถานะชีวิตนักบวชหรือพระสงฆ์ บุคคลทั่วไปมักจะเชื่อถือความคิดข้อหลังนี้มากกว่า พระทรงเรียกทุกคน แต่บางคนเท่านั้นที่ได้รับเลือกถ้าเขาพยายามตอบพระกระแสเรียกของพระด้วยความพยายามและความสมัครใจอย่างเต็มใจ ดังนั้น พระกระแสเรียกจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของหลายฝ่าย คือ
- ผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบดูแลในขณะที่เป็นเณรเรียกและฝึกหัดก่อนบวชเป็นพระสงฆ์
- ตนเองสมัครใจอยากจะบวชด้วยเสรีภาพและมีอายุรู้ความเป็นผู้ใหญ่พอสมควร
- เป็นที่ยอมรับของพระสังฆราช และที่ปรึกษาของพระสังฆราชในเขตนั้น
- เป็นที่ยอมรับของบิดามารดา ญาติ ตลอดจนคนที่รู้จักเขา โดยเห็นว่าเขามีความเหมาะสมที่จะบวชได้
(ข้อนี้ปกติเขาจะประกาศให้ทุกคนทราบเนิ่น ๆ ก่อนบวช และในพิธีบวช ว่ามีข้อขัดขวางใด ๆ หรือไม่) ในที่สุดบุคคลนั้นจบการศึกษา จบการทดลอง และได้รับอนุญาตจากกรุงโรมให้รับศีลบวช เป็นพระสงฆ์ในที่สาธารณชนอย่างเหมาะสม ตามกฎหมายของพระศาสนจักรคาทอลิก
ชีวิตก่อนเข้าบ้านเณร
ปกติครอบครัวมีส่วนสำคัญที่สุดต่อชีวิตของเด็ก ๆ ทุกคนในความดูแล เช่นบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ย่อมเป็นคริสตังที่ดี ศรัทธา หมั่นสวดภาวนา แก้บาปรับศีลบ่อย ๆ บิดามารดาย่อมจะแต่งงานเรียบร้อย "มีบ้านเหมือนกับมีวัด" นั่นเป็นเพราะเขาสร้างบรรยากาศในบ้านให้ชวนศรัทธา ให้นึกถึงพระเป็นเจ้าอยู่เสมอ บ้านจึงเปรียบเสมือนอารามหรือบ้านเณร
นอกจากความศรัทธาแล้ว บิดามารดา หรือผู้ปกครองยังเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการเสียสละรับใช้ พระเป็นเจ้า เหตุว่าเด็กที่จะบวช นอกจากมีความศรัทธาที่ถ่ายทอดมาจากผู้ใหญ่แล้ว ควรจะมีความกระหาย อยากที่จะทำงานให้แก่พระศาสนจักรด้วยความเสียสละอีกด้วย
เด็ก ๆ มักจะมองดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่ ดังนั้นพระเจ้าพระสงฆ์ หรือนักบวชในเขตนั้น ๆ ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีมี เอกลักษณ์สำคัญให้เด็กได้เห็นและอยากบวชด้วยเช่นเด็กบางคนอยากบวชเพราะเห็นพระสงฆ์สวมเสื้อหล่อ (เรียกว่า หล่อดี) ใครก็เคารพศักดิ์สิทธิ์ ศรัทธา นี่แหละเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่พระสงฆ์แสดงตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าเป็นชีวิต ที่ดีจากการดำเนินชีวิต จากกิจการงานของพระองค์ ดังนั้น แบบอย่าง ตัวอย่างที่ดี และเครื่องหมายภายนอกจึงมีส่วน สำคัญมากในการดึงดูดเด็กให้ไปบวช
การส่งเสริมจากโรงเรียน จากครอบครัว และจากวัดย่อมมีส่วนช่วยเด็ก ๆ ในการไปบวช เช่น การกระตุ้นให้เด็ก ๆ รู้จักมาวัด สวดภาวนา ร่วมบูชามิสซาเสมอ ๆ และแม้แต่การช่วยมิสซาเป็นประจำ การคลุกคลีกับพระสงฆ์และนักบวช การช่วยงานวัดวาอารามต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งจูงใจช่วยเด็ก ๆ ให้เข้าบ้านเณรและอารามทั้งสิ้น
ทราบได้อย่างไรว่ามีกระแสเรียกหรือไม่?
ไม่มีพระสงฆ์หรือนักบวชคนใดทราบแน่ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าตนเองมีกระแสเรียก หลายคนไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า เป็นพระสงฆ์กับเป็นนักบวชแตกต่างกันอย่างไร เด็กหลายคนเห็นเขาไปบวชหรือผู้ใหญ่มองเห็นว่าสติปัญญาดี นิสัยดี ก็พยายามให้กำลังใจส่งไปเรียนไปทดลองฝึกหัดดู และที่สุดหลายคนก็ตัดสินใจบวชเป็นพระสงฆ์ และหลายคนออกมา ดำเนินชีวิตฆราวาสอย่างดีต่อไปก็มีมาก ตามภาษาชาวบ้านเรียกว่าบวชบ้าง เบียดบ้างนั่นเอง
อย่างไรก็ตามบทความนี้ผู้เขียนอยากให้ข้อคิดสั้น ๆ ว่า เด็กแต่ละคนจะทราบได้อย่างไรว่าตนเองมีกระแสเรียก หรือเปล่า (ถ้าไม่ทดลองก็จะไม่รู้) ดังนั้น การพิจารณามีดังนี้
- สนใจและอยากบวชเป็นพระสงฆ์หรือนักบวชไหม?
- มีความศรัทธาดีและเสียสละพอสมควร
- มีสติปัญญาดี พอที่จะศึกษาค้นคว้าในระดับสูงต่อไปได้
- มาจากครอบครัวที่ดีและศรัทธา
- มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ ไม่มีโรคประจำตัวหรือสติฟั่นเฟือน
นอกจากนี้ ตนเองต้องหมั่นสวดภาวนา แก้บาปรับศีล วิงวอนขอความสว่างจากพระเป็นเจ้าให้เลือกหนทางชีวิต อย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็แนะนำให้ปรึกษาพระสงฆ์หรือคุณพ่อวิญญาณเพื่อความแน่นอนของกระแสเรียก
พูดจริง ๆ แล้วทุกคนมีพระกระแสเรียก แต่สิ่งสำคัญเราต้องหมั่นสวดภาวนา มีความศรัทธา แก้บาปรับศีล พูดง่ายๆ ก็คือ ตอบสนองเสียงเรียกของพระด้วยความสมัครใจเต็มใจ ทำทุกอย่างสุดความสามารถของตนเอง แน่นอน พระหรรษทานของพระ ร่วมกับการตอบรับของตนเองย่อมทำให้พระกระแสเรียกสำเร็จครบบริบูรณ์
อย่าลืมว่า ไม่มีบุคคลใดทราบแน่ว่า ตนเองนั้นพระทรงเรียกหรือจะได้บวชแน่ ๆ นอกจากสมัครใจไปเรียนไปฝึกหัด ทดลอง และถ้าเราดี เราชอบ หรือมีความสามารถพระทรงเรียกเราจริง ๆ เราก็จะได้บวชเป็นพระสงฆ์
ผมอยากสมัครเข้าเป็นเณรของคณะพระมหาไถ่
หลังจากศึกษาเรื่องกระแสเรียกพอสมควร คราวนี้ถ้าอยากสมัครเข้าเป็นเณรคณะพระมหาไถ่ก็ขอให้เราพิจารณา อีกนิดหน่อยเกี่ยวกับคณะพระมหาไถ่ เราจะได้สมัครใจอย่างถูกต้อง
คณะพระมหาไถ่หรือ เรเดมตอรีสนั้น นักบุญอัลฟอนโซ เป็นผู้สถาปนาตั้งคณะนี้ในประเทศอิตาลี เมื่อ ปี ค.ศ. 1932 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือวิญญาณทุกดวงให้ได้รับความรอด เป็นต้น วิญญาณที่ถูกทอดทิ้ง
คณะพระมหาไถ่ ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 7,000 คน ทำงานตามจิตตารมณ์ของนักบุญอัลฟอนโซ ช่วยเหลือ วิญญาณทั่วโลก คณะพระมหาไถ่เข้ามาเมืองไทยเมื่อปี ค.ศ. 1948
งานสำคัญของคณะคือการเทศน์ให้พระสงฆ์ นักบวช การอบรมจิตใจตามวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดูแลวัดต่าง ๆ ในเขต สังฆมณฑลอุดรธานี และทำงานตามความต้องการของพระศาสนจักรในเมืองไทย ปัจจุบันเรามีบ้านเณรเล็กชื่อว่า "บ้านเณรพระมารดานิจจานุเคราะห์" ที่ศรีราชา ชลบุรี ผู้ที่เข้าบ้านเณรได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นเด็กชาย เรียนจบ ป.6 เป็นอย่างน้อย มีสติปัญญาดีพอสมควร
- มาจากครอบครัวที่ดี มีความศรัทธา นิสัยดี มีความเสียสละ สนใจอยากบวช
- มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ
- อยากเป็นเณรมหาไถ่
่
สำหรับการสมัคร ก็ติดต่อกับ พระสงฆ์ ของคณะพระมหาไถ่ที่ใกล้ตัว หรือพระสงฆ์ที่ตนเองรู้จัก หรือจะจดหมายติดต่อกับอธิการบ้านเณร โดยตรงเลยก็ได้ที่
บ้านเณรพระมารดานิจจานุเคราะห์
ตู้ ป.ณ.4 อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี 20110
โทร. 038-321992 , 038-311246
แฟกซ์ 038-312362
ตามปกติแล้ว บ้านเณรของเรามีหลักสูตรดังนี้
ศึกษาต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา จนจบ ม.6 ตามหลักสูตร ปัจจุบัน
หลังจากจบการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชาแล้ว จะต้องศึกษาภาษาอังกฤษและความรู้ต่าง ๆ เพิ่มเติมอีก 1 ปี ที่โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี ฯ เพื่อเตรียมตัวก่อนนวกสถานที่หนองคาย ขั้นนี้เราเรีบกว่าผู้ฝึกหัด (โปสตูลันต์)
หลังจากจบขั้นโปสตูลันต์แล้ว จะต้องเข้ารับการศึกษาและฝึกชีวิตนักบวชอีก 1 ปีเต็ม ที่บ้านนวกสถาน หนองคายในขณะนั้นจะได้รับเสื้อหล่อของคณะและเจริญชีวิตอย่างใกล้ชิดกับนวกจารย์เพื่อทราบถึงชีวิตนักบวชใน คณะพระมหาไถ่ด้วยคำปฏิญาณตน 3 ข้อ โดยความสมัครใจคือความบริสุทธิ์ ความยากจน และความนบนอบ
หลังจากถวายตัวหรือจบจากนวกสถานหนองคายแล้ว จะต้องศึกษาด้านปรัชญาและศาสนาอีก 4ปี และด้านเทวศาสตร์อีก 1 ปี ที่บ้านเณรใหญ่ "แสงธรรม" สามพราน โดยพักอยู่ที่บ้านพักของคณะพระมหาไถ่ "บ้านเณรใหญ่ของเรา" ในระหว่าง การศึกษานี้ เณรก็จะเจริญเติบโตในชีวิตนักบวชด้วยความศักดิ์สิทธิ์ศรัทธาเยี่ยงนักบวชในคณะพระมหาไถ่ในระยะ เวลาก่อนบวช เขาย่อมต้องถวายตัวตลอดชีวิตเป็นสมาชิกของคณะพระมหาไถ่อย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้นทางคณะจะส่งเณรที่จบ ปี 5 ไปเรียนเทวศาสตร์ต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์ และเมื่อเรียนจบแล้วก็จะ ได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ และเป็นนักบวช ซึ่งเรียกว่า "พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่" นั่นเอง
บวชเป็นพระสงฆ์ตลอดนิรันดร
เราได้ยินชาวบ้านพูดกันแบบพื้น ๆ ว่า "เป็นพระสงฆ์แล้วสึกไม่ได้" นั่นแหละเป็นความจริงที่ปรากฎ พระเป็นเจ้า ทรงเลือกมนุษย์ธรรมดา ๆ เดินดินอย่างคนทั้งหลายให้มาทำหน้าที่พิเศษแทนองค์พระคริสตเจ้า พูดง่าย ๆ เป็นองค์ พระคริสตเจ้าเองเทศนาสั่งสอน โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่อนำวิญญาณทั้งหลายไปสู่ความรอด
กว่าจะบวชเป็นพระสงฆ์ได้มิใช่ของง่าย และต้องใช้เวลายาวนานพอสมควรศึกษาเล่าเรียนทดลอง เพื่อจะได้ ตัดสินใจด้วยความสมัครใจบวชด้วยเสรีภาพของตนเอง
เป็นความจริงทีเดียว ศักดิ์ศรีของพระสงฆ์ยิ่งใหญ่และตลอดนิรันดร สัตบุรุษให้ความเคารพพระสงฆ์มากเพราะ พระสงฆ์ทำหน้าที่สำคัญและยิ่งใหญ่ 4 ประการคือ
- ถวายบูชามิสซาทุก ๆ วันตามธรรมเนียมอันเก่าแก่ของพระศาสนจักรคาทอลิก
- โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เพื่ออภิบาลสัตบุรุษและนำวิญญาณไปสู่ความรอด
- เทศน์และสอนคำสอน นั่นคือนำพระวาจาของพระไปสู่ทุกคน
- สวดภาวนาตลอดเวลาเพื่อตนเอง เพื่อพระศาสนจักรทั้งครบ รวมทั้งเพื่อสัตบุรุษด้วย
ศักดิ์ศรีของพระสงฆ์เป็นเกียรติสูงมาก มิใช่ทุกคนที่มาเป็นเณรจะได้บวชเป็นพระสงฆ์ บางคนพยายามมากแต่ ตนเองไม่เหมาะสมกับหน้าที่สูงส่งนี้ก็ไม่ได้บวช การบวชเป็นพระสงฆ์มิใช่ของง่ายเมื่อเป็นพระสงฆ์มิใช่ของง่ายเมื่อเป็น พระสงฆ์แล้วต้องเอาใจใส่หน้าที่ 4 ประการอย่างแท้จริง และซื่อสัตย์อย่างแท้จริง เขาจึงจะรักษากระแสเรียกนั้นจนถึง ที่สุดได
้
สัตบุรุษมองพระสงฆ์ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธา เป็นบุคคลที่สวดภาวนาทำหน้าที่ของสงฆ์อย่างดี รักวัดวา อาราม ประกอบบูชามิสซาอย่างดี เตรียมเทศน์ได้ดีและซึ้งใจ เข้าถึงจิตใจของสัตบุรุษ เยี่ยมเยียนสัตบุรุษและเอาใจใส่ ชีวิตวิญญาณของทุกคน สัตบุรุษมองพระสงฆ์เป็นผู้ที่นำพระเป็นเจ้า พระหรรษทานและพระพรมาสู่พวกเขาทางบูชามิสซา และทางศีล ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เป็นต้น ศีลมหาสนิท และศีลแก้บาป เป็นพระสงฆ์เองที่ช่วยพวกเขาให้หลุดพ้นจากบาปผิด เป็นพระสงฆ์เอง ที่นำพระจิตเจ้ามาสู่พวกเขาเป็นพิเศษทางศีลกำลังและช่วยพวกเขาให้คืนดีกับพระโดยทางศีลแก้บาป นอกจากนี้เป็นหน้าที่และมืออันศักดิ์สิทธิ์ของพระสงฆ์ที่นำพระเยซูคริสตเจ้ามาสู่วิญญาณ เลี้ยงวิญญาณ ช่วยให้ วิญญาณนั้นเติบโตอย่างสมบูรณ์
.